การปลูกรากเทียมเพื่อรองรับแผงฟันปลอม

เนื่องจากฟันปลอมแบบทั่วไปใช้สันเหงือกเป็นฐานรองรับ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของสันเหงือกก่อให้เกิดการหลวมของฟันปลอมได้ ซึ่งทันตกรรมรากเทียมเพื่อรองรับแผงฟันปลอมเป็นการใช้รากเทียมเป็นเสายึดให้ ความมั่นคงแก่แผงฟันปลอม เพิ่มความมั่นใจในการใช้งานให้แก่คนไข้ โดยสามารถทำได้ทั้งบนขากรรไกรบนและล่าง

2 Implants Overdentures

รากเทียม 2 ตำแหน่ง+ Ball + แผงฟันปลอม

รากเทียม 2 ตำแหน่ง + Bar + แผงฟันปลอม

4 Implants Overdentures

รากเทียม 4 ตำแหน่ง  + Ball + แผงฟันปลอม

รากเทียม 4 ตำแหน่ง  + Bar + แผงฟันปลอม

ประโยชน์ของการปลูกรากเทียมเพื่อรองรับแผงฟันปลอม

  • ให้ความมั่นคงและรองรับการใช้งานได้ดีกว่าการใช้ฟันปลอมแบบธรรมดา
  • ช่วยให้การออกเสียงและการสนทนาเป็นไปได้โดยสะดวกและชัดเจน
  • ไม่มีปัญหาเรื่องความกังวลว่าฟันปลอมจะหลวมหรือหลุด
  • สามารถเลือกรับ ประทานอาหารได้มากขึ้น ทั้งนี้ผู้ป่วยยังคงต้องระวังในการรับประทานอาหารที่แข็งหรือเคี้ยวยาก เนื่องจากอาจทำให้ฟันปลอมชำรุดได้
  • ให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติกว่าการใส่ฟันปลอมแบบธรรมดาเนื่องจากไม่มีส่วนของฟันปลอมที่คลุมบนสันเหงือกหรือเพดานปาก
  • สามารถถอดออกได้ และทันตแพทย์สามารถปรับแต่งใช้ฟันปลอมของผู้ป่วยเดิม ในกรณีที่เหมาะสม
  • การรักษามีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าการปลูกรากเทียมเพื่อรองรับสะพานฟันแบบทั้งปาก

 

ทันตกรรมรากเทียมเพื่อใช้รองรับแผงฟันปลอมมี 2 ประเภท

  1. แบบแท่ง (Bar-retained) ใช้โลหะลักษณะแบบ ที่ได้รับการออกแบบตามความโค้งของขากรรไกรของผู้ป่วย ยึดลงบนรากเทียมที่ได้รับการปลูก 2 ถึง 5 ตำแหน่ง เพื่อรองรับแผงฟันปลอม
  2. แบบทรงกลม (Ball-retained) ใช้ โลหะลักษณะคล้ายหัวหมุดทรงกลม ยึดลงบนรากเทียมที่ได้รับการปลูกอย่างน้อย 2 ตำแหน่ง เพื่อรองรับแผงฟันปลอม โดยหัวหมุดจะมีขนาดที่พอดีกับตัวยึดบนแผงฟันปลอม

โดยทั่วไปการรักษาด้วยทันต กรรมรากเทียมเพื่อรองรับแผงฟันปลอมจะใช้วัสดุอะครีลิกที่มีสีคล้ายเหงือกใน การประดิษฐ์แผงฟันปลอม และเลือกใช้วัสดุอะครีลิกหรือเซรามิกในการประดิษฐ์ส่วนของฟันให้มีความสวย งามเป็นธรรมชาติ

ขั้นตอนการปลูกรากฟันเทียมเพื่อรองรับแผงฟันปลอม

โดยทั่วไปรากเทียมจะใช้ปลูก บนกระดูกรองรับฟันด้านหน้าซึ่งมักมีความหนากว่าบริเวณฟันหลัง แม้ว่าฟันบริเวณจะได้รับการถอนไปนานแล้วก็ตาม นอกจากนั้นบริเวณฟันหลังยังมีเส้นประสาทและโครงสร้างที่เป็นปัจจัยซับซ้อนใน การปลูกรากฟันเทียมอีกด้วย ระยะเวลาในการรักษาขึ้นอยู่กับสภาพของกระดูกรองรับฟันของผู้ป่วยและปัจจัยในการรักษาต่างๆ โดยมีขั้นตอนการรักษาเหมือน การปลูกรากฟันเทียมแบบทั่วไป ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1

ทันตแพทย์จะทำการตรวจ วินิจฉัยและวางแผนการรักษา รวมทั้งพิจารณาความเหมาะสมในวิธีการรักษา

Bone Graft

ขั้นตอนที่ 2 (กรณีที่จำเป็น)

การปลูกกระดูกมี ความจำเป็นในกรณีที่ผู้ป่วยมีกระดูกรองรับฟันบางเกินไป ซึ่งผู้ป่วยจำเป็นต้องรอการสร้างตัวของกระดูกก่อนที่จะสามารถเข้ารับการปลูก รากเทียมได้ สำหรับกรณีที่ผู้ป่วยมีกระดูกรองรับฟันที่มีความหนาปานกลาง ทันตแพทย์สามารถทำการปลูกกระดูกได้พร้อมกับการปลูกรากเทียม

Implant Supported Overdentures Procedures 3

ขั้นตอนที่ 3

ทันตแพทย์ทำการ ปลูกรากเทียมบนกระดูกรองรับฟันและรอพักให้ร่างกายสร้างกระดูกเพื่อยึดราก เทียม ซึ่งใช้เวลาโดยทั่วไปประมาณ 2 เดือนหรือตามที่ทันตแพทย์เฉพาะทางเห็นเหมาะสม โดยในช่วงระหว่างนี้ผู้ป่วยสามารถสวมใส่ฟันปลอมเดิม (ถ้ามี)ที่ได้รับการปรับแต่ง หรือฟันปลอมแบบชั่วคราวได้

Implant Supported Overdentures Procedures 4

ขั้นตอนที่ 4

ขั้นตอนสุดท้าย หลังจากที่กระดูกรองรับฟันยึดรากฟันเทียมดีแล้ว ทันตแพทย์จะทำการพิมพ์ปากเพื่อทำฟันปลอมแล้วยึดบนตัวยึดทรงกลมหรือแบบแท่งบน รากฟันเทียม พร้อมทำการปรับแต่งเพื่อความเหมาะสม   การรักษาด้วยการปลูกรากเทียมเพื่อรองรับแผงฟันปลอมนั้นผู้ป่วยสามารถถอดฟัน ปลอมออกได้ กรณีที่ผู้ป่วยสนใจการรักษาแบบยึดติดถาวร กรุณาดูข้อมูลและรายละเอียดการรักษาด้วย การปลูกรากฟันเทียมพร้อมสะพานฟันแบบทั้งปาก

© 2023 Bangkok Dental Implant. All rights reserved.